โรคไส้เลื่อน เป็นแล้วต้องรักษาไหม น่ากลัวหรือเปล่า

        ไส้เลื่อนคือ การที่อวัยวะภายในยื่นออกมาจากผนังหน้าท้องที่มีความผิดปกติ โดยทั่วไปจะคลำได้เป็นก้อน ซึ่งพบบ่อยบริเวณ ขาหนีบ สะดือ และแผลผ่าตัด

ประเภทของไส้เลื่อนจะแบ่งตามตำแหน่งที่เกิด ได้แก่

    1. ไส้เลื่อนขาหนีบ (Inguinal hernia)
    2. ไส้เลื่อนที่สะดือ (Unbilical hernia)
    3. ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia)
    4. ไส้เลื่อนบริเวณที่ตำกว่าขาหนีบ (Femoral henia)
    5. ไส้เลื่อนบริเวณช่องเชิงกราน (Obturator hernia)
    6. ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia)

ซึ่งไส้เลื่อนขาหนีบเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดเนื่องจากเป็นจุดอ่อนแอที่สุดของผนังหน้าท้อง  โดยมีอาการดังนี้

    • มีก้อนยื่นแถวๆขาหนีบ โดยจะยื่นเวลาลุกขึ้นยืนหรือเดิน และยุบเล็กลงเวลานอน

ไส้เลื่อนเกิดกับใครได้บ้าง

    • ผู้ชายและผู้หญิง โดยผู้ชายมีโอกาสมากกว่า
    • คนที่มีความดันในช่องท้องสูง
    • คนอ้วน/ผู้สูงอายุ
    • คนที่เป็นต่อมลุกหมากโต

ปัจจัยที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน

    • ปัจจัยสำคัญที่สุด คือ “ผนังหน้างท้อง” ขาดความแข็งแรง
    • ปัจจัยอื่นๆ เช่นอุบัติเหตุหน้าท้องแรงดันในช่องท้องสูง จากการยกของหนัก ไอบ่อย แบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นประจำ หรือ ผิดปรกติตั้งแต่กำเนิด

อันตรายของไส้เลื่อน

    • เนื่องจากไส้เลื่อนจะยื่นเวลาลุกขึ้นยืนหรือเดิน และยุบเล็กลงเวลานอน ซึ่งผู้ป่วยบางทางอาจจะละเลยการรักษา  คิดว่าอาการไม่รุนแรง
    • กรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงลำไส้อาจถูกรัดจนอาหารผ่านไม่ได้ เกิดภาวะลำไส้อุดตัน ท้องอืด อาเจียน ไม่ถ่าย ไม่ภายลม และทำให้เนื้อเน่าตาย ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินและต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน

การรักษา

    1. ทานยาแก้ปวดและจัดท่าเพื่อดันไส้เลื่อนกลับเข้าไป
    2. การผ่าตัด
      • การผ่าตัดแบบเปิด : ใช้วิธีเปิดผนังหน้าท้องเพื่อใส่แผ่นสังเคราะห์ และ เย็นซ่อมแซมเนืน้อเยื่อชั้นต่างๆ เข้าหากัน
      • การผ่าตัดส่องกล้อง : ใช้วิธีส่องกล้องเข้าผนังหน้าท้องเพื่อใส่แผ่นสังเคราะห์ และยึดติดด้วยอุปกรณ์พิเศษ

การผ่าตัดแบบส่องกล้องจึงมีแผลเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิดมาก และยังกลับไปทำงานใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น