มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิงมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง และผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยเมื่อโรคอยู่ในระยะที่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น ๆ โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นเพราะโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะเริ่มแรก ทำให้พลาดโอกาสในการรักษาให้หายขาด การรู้เท่าทันโรคทั้งสัญญาณเตือน อาการเบื้องต้น และการสังเกตความเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง เป็นวิธีที่ช่วยให้พบได้เร็ว และลดความเสี่ยงได้

อาการของ มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม คืออะไร?

มะเร็งเต้านมคือความผิดปกติของเซลล์ในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม โดยเซลล์เหล่านี้สามารถแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดก้อนเนื้อ หากปล่อยไว้อาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และกระจายผ่านทางเดินน้ำเหลืองไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ สมอง และกระดูก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

สำหรับเพศหญิงแล้ว มะเร็งเต้านม คือโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตมากถึงที่สุด จากโรคมะเร็งทั้งหมด และมีความเสี่ยงสูงมากกว่าโรคมะเร็งปากมดลูกซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตเป็นอันดับสองหลายเท่า 

มะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร?

สำหรับสาเหตุของมะเร็งเต้านม อาจยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าอะไรที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม แต่พบว่ามีหลายปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์และเพิ่มโอกาสเกิดโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้

  • เพศหญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าชาย โดยมะเร็งเต้านมพบในเพศชายเพียง 1%
  • อายุที่เพิ่มขึ้นความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุ​ โดยส่วนใหญ่เริ่มพบในช่วงอายุ 40-50 ปี
  • มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่
  • การไม่มีบุตร เป็นหมัน หรือกินยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่มีบุตรแต่ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตัวเอง
  • การสัมผัสฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน เช่น มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี
  • ปัจจัยด้านการใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย และการดื่มแอลกอฮอล์
  • ได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นเวลานาน
  • มีหน้าอกแน่น หรือโครงสร้างเนื้อเยื่อหนาแน่น

สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม อาการเป็นอย่างไร?

มะเร็งเต้านมมักไม่แสดงอาการในระยะแรก การตรวจพบสัญญาณเตือนที่ง่ายที่สุดคือการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง โดยสามารถสังเกตได้ ดังนี้ 

  • คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านมหรือใต้รักแร้ โดยระยะแรก ๆ มักจะไม่มีอาการเจ็บ
  • ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป​
  • หัวนมบุ๋มลงไปในเต้านม หรือบวมหนามองเห็นรอยรูขุมขนชัดเจนลักษณะเหมือนเปลือกส้ม​
  • มีน้ำเหลืองหรือของเหลว ไหลออกจากหัวนม
  • เต้านมโตอย่างรวดเร็ว อาจเริ่มจากข้างใดข้างหนึ่ง
  • อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม​
  • มีแผลบริเวณหัวนม ลักษณะแผลสีแดง บางรายอาจมีอาการเน่าของแผลบริเวณหัวนมหรือส่วนอื่น ๆ รอบบริเวณเต้านม

มะเร็งเต้านม มีกี่ระยะ อะไรบ้าง?

โรคมะเร็งเต้านม แบ่งได้ 4 ระยะ โดยลักษณะและอาการของมะเร็งเต้านมแต่ละระยะจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ 

  • ระยะที่ 1 : ระยะที่มะเร็งเริ่มมีการลุกลามจากเนื้อเยื่อที่มีเซลล์มะเร็งก่อตัว แต่ยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ โดยขนาดของมะเร็งในระยะแรกจะไม่เกิน 2 เซนติเมตร 
  • ระยะที่ 2 : ระยะที่เซลล์มะเร็งเริ่มมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือมีขนาดของก้อนมะเร็งเริ่มใหญ่ขึ้น อยู่ที่ขนาดประมาณ 2-5 เซนติเมตร 
  • ระยะที่ 3 : ก้อนมะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังผนังหน้าอก และอาจมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้มากขึ้น โดยก้อนมะเร็งจะมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร 

ระยะที่ 4 : การแพร่กระจายของมะเร็งออกไปที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองส่วนอื่น ๆ และออกนอกเต้านมไปยัง ตับ กระดูก ปอด และสมอง

แนวทางป้องกัน มะเร็งเต้านม

แนวทางป้องกัน มะเร็งเต้านม

เนื่องจากรอยโรคของมะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้นเล็กมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าที่จะรู้ก็เข้าสู่ระยะที่ 3-4 ซึ่งรักษาได้ยาก การป้องกันที่ดีที่ก็คือการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ควรทำหลังหมดประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของเต้านม รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างน้อยปีละครั้ง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเต้านม

นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยง เช่น รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ก็เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ 

แนวทางวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

กรณีที่ตรวจเต้านมด้วยตัวเองแล้วพบความปกติหรือคลำเจอก้อนที่บริเวณเต้านม แพทย์จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้นด้วยการตรวจเต้านม คลำต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้และคอ จากนั้นแพทย์จะตรวจโดยละเอียดด้วยวิธีตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เพิ่มเติม หากพบความผิดปกติที่มีข้อบ่งชี้ว่าอาจเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์จะพิจารณาตัดชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยที่แม่นยำและประเมินแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย

แนวทางการรักษามะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย หากเป็นระยะที่มีการแพร่กระจาย แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีฉายแสงหรือการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือยาต้านฮอร์โมนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

กรณีที่ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรก หรือยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีผ่าตัดเพื่อลความเสี่ยงของการแพร่กระจายและป้องกันไม่ได้ลุกลามไปสู่ระยะที่รุนแรง ซึ่งวิธีผ่าตัดในปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 

1. ผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด

การผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมแบบดั้งเดิม เป็นวิธีผ่าตัดแบบเปิดที่แพทย์จะผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด รวมถึงผิวหนังส่วนที่อยู่เหนือก้อนมะเร็งหัวนม โดยส่วนมากแล้วแพทย์จะพิจารณาใช้วิธีนี้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และมีจำนวนหลายก้อน ข้อเสียคือ มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำและผู้ป่วยอาจสูญเสียความมั่นใจจากการที่ต้องตัดเต้านมออกทั้งหมด 

2. ผ่าตัดส่องกล้องเต้านม 

วิธีผ่าตัดส่องกล้องรักษามะเร็งเต้านม (Endoscopic Breast Surgery) เป็นการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีส่องกล้องโดยเปิดแผลขนาดเล็กใต้รักแร้ หรือบริเวณฐานหัวนม ด้วยอุปกรณ์ที่ออกแบบเฉพาะที่มีอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องขนาดเล็กที่สามารถสอดเข้าไปผ่าตัดเนื้องอกออก โดยแพทย์จะตัดเลาะก้อนเนื้อ และเนื้อเยื่อเต้านมได้อย่างแม่นยำ ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องคือใช้เวลาผ่าตัดน้อย แผลเล็ก ลดการบาดเจ็บ และแพทย์ยังสามารถตกแต่งทรงของเต้านมควบคู่ไปด้วยได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้งหลังรับการรักษา

สำหรับท่านที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม หรือมีอาการที่สงสัยว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค ที่ MSC Healthcare มีแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการพร้อมให้คำปรึกษา และทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม พร้อมด้วยการผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่ปลอดภัย ด้วยความชำนาญการและประสบการณ์ในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นใจได้อีกครั้ง

สอบถามและทำนัดหมาย

Line : @msc.healthcare

โทร : 065-509-4459