ผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก

การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินและไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยวิธีอื่น มาตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ประสบปัญหาภาวะโรคอ้วนเข้าใจถึงกระบวนการ ข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อน – หลังการผ่าตัดอย่างถูกต้อง

เลือกอ่าน

การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักคืออะไร?

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric Surgery) เป็นวิธีการทางการแพทย์สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ หรือภาวะโรคอ้วน  และมีความเสี่ยงสูงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ ทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น รับประทานอาหารได้น้อยลง และส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว ช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

การผ่าตัดกระเพาะได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในเรื่องของการลดน้ำหนักแบบยั่งยืน ไม่ใช่แค่ลดน้ำหนัก แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน และช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้นในระยะยาว


วิธีผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมีกี่วิธี?

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 

  • ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ (Sleeve Gastrectomy) เป็นวิธีที่แพทย์จะผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง ทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยลงและรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง ค่า BMI มากกว่า 27.5 และวิธีลดน้ำหนักอื่น ๆ ไม่ได้ผล ผลลัพธ์โดยเฉลี่ยลดลง 18-40% ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น
  • ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Gastric Bypass Surgery) โดยแพทย์จะทำการลดขนาดกระเพาะและเชื่อมต่อกระเพาะบางส่วนเข้ากับลำไส้เล็กโดยตรง ทำให้ลดปริมาณอาหารที่รับได้และการดูดซึมสารอาหารลดลง ส่งผลให้น้ำหนักลดอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรงหรือมีโรคร่วม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีค่า BMI มากกว่า 32.5 ผลลัพธ์โดยเฉลี่ยลดลง 18-40% ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น

ซึ่งทั้ง 2 วิธี สามารถทำร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา


ใครบ้างที่เหมาะกับการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก?

การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสำหรับทุกคน แต่เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินรุนแรงและไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยวิธีทั่วไป ผู้ที่เหมาะสมควรมีข้อบ่งชี้ดังนี้

  • ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 35 ขึ้นไป
  • ผู้ที่มี BMI ตั้งแต่ 30 และมีโรคร่วมที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ผู้ที่พยายามควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วไม่ได้ผล

แพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าแต่ละบุคคลเหมาะสมกับการผ่าตัดหรือไม่ โดยพิจารณาปัจจัยด้านสุขภาพ ความเสี่ยง และความพร้อมของร่างกายในการรับการรักษา


ค่า BMI คืออะไร? ทำไมต้องเช็คก่อนผ่าตัดกระเพาะ

BMI (Body Mass Index) หรือ ดัชนีมวลกาย เป็นค่าที่ใช้ประเมินระดับน้ำหนักตัวของบุคคล โดยค่า BMI สามารถแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้

ค่า BMI

การตรวจสอบค่า BMI เป็นขั้นตอนสำคัญในการประเมินว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักหรือไม่


การเตรียมตัวก่อนและหลังการผ่าตัดกระเพาะควรทำอย่างไร?

ก่อนการผ่าตัด 

ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายและวางแผนการรักษา ซึ่งรวมถึงการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร การอัลตราซาวด์ตับเพื่อตรวจภาวะไขมันพอกตับ ตับแข็ง หรือนิ่วในถุงน้ำดี และการตรวจเลือด

หลังการผ่าตัด 

ทีมแพทย์และนักโภชนาการจะกำหนดแนวทางการรับประทานอาหารเพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารปรับตัว โดย

  • 4 สัปดาห์แรก ควรรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ซุป ไข่ตุ๋น
  • หลัง 4 สัปดาห์ สามารถรับประทานอาหารปกติในปริมาณที่เหมาะสม

การปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดช่วยให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน

การตรวจสอบค่า BMI เป็นขั้นตอนสำคัญในการประเมินว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักหรือไม่


ขั้นตอนการผ่าตัดกระเพาะมีอะไรบ้าง?

วิสัญญีแพทย์จะดมยาสลบระหว่างการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก และแพทย์จะดำเนินการผ่าตัดด้วยเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery) โดยวิธีนี้จะทำให้แผลมีขนาดเล็ก ลดความเจ็บปวด และฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 4-5 วัน เพื่อให้แพทย์ติดตามอาการและประเมินความพร้อมก่อนอนุญาตให้กลับบ้าน พร้อมคำแนะนำในการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด


การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักอันตรายไหม?

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วย เทคโนโลยีการส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นเทคนิคที่ทันสมัย ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ โดยมีข้อดีคือ แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว และช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน 

แม้ว่าการผ่าตัดจะมีความเสี่ยง เช่น ภาวะขาดสารอาหาร หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางกรณี แต่โดยรวม ผู้เข้ารับการผ่าตัดส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักและมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์และการปฏิบัติตามคำแนะนำหลังผ่าตัดอย่างเหมาะสม

ผลข้างเคียงของการผ่าตัดกระเพาะ

ผ่าตัดกระเพาะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

การผ่าตัดกระเพาะ ถึงแม้แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น

  • อาการคลื่นไส้และอาเจียน อาจเกิดขึ้นในช่วงแรกหลังผ่าตัด เนื่องจากกระเพาะอาหารต้องปรับตัวกับปริมาณอาหารที่ลดลง
  • ภาวะกรดไหลย้อน อาจรุนแรงขึ้นในบางราย โดยเฉพาะผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีลดขนาดกระเพาะ (Sleeve Gastrectomy)
  • การดูดซึมสารอาหารผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น เช่น วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และแคลเซียม 
  • นิ่วในถุงน้ำดี อาจเกิดขึ้นจากการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้บางรายต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม
  • ปัญหาทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการย่อยอาหาร
  • ผลกระทบทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด เนื่องจากต้องปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่และพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป
ผ่าตัดกระเพาะกลับมาอ้วนอีกได้ไหม

หลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักจะกลับมาอ้วนได้อีกไหม?

การผ่าตัดกระเพาะอาหารถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอ้วนและโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วน แต่ความสำเร็จในระยะยาวขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย หลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก จะเห็นผลชัดเจนในช่วง 1-2 ปีแรก แต่หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านโภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด น้ำหนักก็อาจกลับมาเพิ่มได้ เพื่อป้องกันการกลับมาอ้วน ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง


หลังผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริม วิตามิน และแร่ธาตุหรือไม่?

ควรมีการทานเสริมเข้าไป โดยเฉพาะในผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารในปริมาณที่น้อยลง และในกรณีของการผ่าตัดแบบบายพาส (Gastric Bypass) ซึ่งมีการเปลี่ยนเส้นทางเดินอาหาร ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง ส่งผลให้ต้องได้รับการตรวจระดับวิตามินในเลือดอย่างสม่ำเสมอ และอาจต้องได้รับวิตามินเสริมโดยตรง

สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ สามารถเลือกรับประทานอาหารเสริมจำพวกวิตามินและแร่ธาตุได้ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ 


นอกจากลดน้ำหนักแล้ว การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารยังช่วยให้โรคเบาหวาน หรือค่าระดับความดันโลหิตดีขึ้นได้จริงไหม?

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารไม่ได้เป็นเพียงวิธีลดน้ำหนักเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในหลายกรณี ผู้ป่วยสามารถลดหรือหยุดการใช้ยาได้ ซึ่งช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นในระยะยาว


ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ MSC Healthcare

ที่ MSC Healthcare เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง ปลอดภัย แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ให้การรักษามีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและความเหมาะสมของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะกับทางศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง MSC Healthcare ผ่านระบบ Telemed Service ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอคิว

ที่ MSC Healthcare เราให้ความสำคัญกับผลลัพธ์และความปลอดภัยมากกว่าเรื่องของความงาม พร้อมคำแนะนำทั้งก่อนและหลังผ่าตัดเพื่อการควบคุมน้ำหนักที่เห็นผลได้ในระยะยาว

ปรึกษาแพทย์ฟรี หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @msc.healthcare หรือ โทร.065-509-4459