
ไขข้อสงสัย การผ่าตัดกระเพาะ สามารถรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือไม่ ใครบ้างที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีนี้ และมีข้อควรรู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงหลังการรักษาอะไรบ้าง

ผ่าตัดกระเพาะคืออะไร? ทำไมเกี่ยวข้องกับการรักษาเบาหวาน
การผ่าตัดกระเพาะ คือแนวทางการรักษาคนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ และมีภาวะของโรคอ้วนที่อาจส่งผลไปถึงภาวะของโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น โดยส่วนใหญ่พบว่า ผู้ที่เป็นโรคอ้วนร้อยละ 25-30 มักมีโรคเบาหวานร่วมด้วย การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะจะช่วยให้ลดปริมาณการทานอาหารลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนักจึงได้รับการรักษาโรคเบาหวานไปด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างผ่าตัดกระเพาะกับการลดน้ำตาลในเลือด
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมักมีการสะสมของไขมันในช่องท้องเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอิสระในกระแสเลือด ยิ่งมีจำนวนมากยิ่งส่งผลต่อภาวะดื้ออินซูลินทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มคนที่มีภาวะโรคอ้วน
การผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน จึงมีส่วนช่วยในการรักษาโรคเบาหวานได้โดยตรง เพราะเมื่อขนาดกระเพาะลดลง ผู้ป่วยจะทานได้น้อยลง ปริมาณการสะสมของไขมันช่องท้องที่มีผลต่อภาวะดื้อต่ออินซูลินก็ลดลง เมื่อไขมันลดลง น้ำหนักลดลง ภาวะดื้ออินซูลินก็จะดีขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายขาดจากโรคเบาหวานได้หลังผ่าตัดกระเพาะ
ผ่าตัดกระเพาะรักษาเบาหวานได้จริงไหม? งานวิจัยและคำแนะนำจากแพทย์
ในต่างประเทศมีงานวิจัยเกี่ยวกับการผ่าตัดกระเพาะรักษาเบาหวานอยู่หลายกรณี เช่น การศึกษาโดย Cleveland Clinic ในสหรัฐอเมริกา ที่ติดตามผลจากผู้เข้าร่วมการรักษากว่า 262 คน และมี 166 คนที่ได้รับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากภาวะอ้วนด้วยวิธีผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก โดยระยะเวลาติดตามผล 12 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 50.8% ที่ได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนักหายขาดจากโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ปีแรก เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทางการแพทย์ตามปกติซึ่งมีเพียง 0.5% และมีจำนวนผู้ป่วยกว่า 18.2% ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด หายจากโรคเบาหวานเมื่อเข้าสู่ปีที่ 7 หลังการรักษา
สำหรับการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนที่ MSC Healthcare ดูแลโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะโรค ที่คอยดูแลและให้คำแนะนำ ซึ่งหลังการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดกระเพาะ มีหลายเคสที่ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโรคสงบโดยไม่ต้องใช้ยาหลังการรักษา โดยมีสัดส่วนมากถึง 80-90% นอกจากนี้การผ่าตัดกระเพาะในผู้ที่มีภาวะอ้วนและไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานในอนาคตให้กับผู้ป่วยอีกด้วย ทั้งนี้ผลลัพธ์หลังการผ่าตัดอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยร่วมด้วย เช่น อายุ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับน้ำตาลก่อนผ่าตัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ติดต่อเรา

ใครบ้างที่เหมาะกับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อช่วยรักษาเบาหวาน
การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก แพทย์จะพิจารณาสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินรุนแรง และไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีทั่วไปได้ โดยมีข้อบ่งชี้ดังนี้
- ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 35 ขึ้นไป
- ผู้ที่มีค่าดัชมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 30 และมีโรคร่วมที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมถึงมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ผู้ที่ผ่านการควบคุมอาหาร หรือออกกำลังกายเป็นเวลานานแล้วไม่ได้ผล
ทั้งนี้การรักษาเบาหวานด้วยวิธีผ่าตัดกระเพาะ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนร่วมกับเบาหวาน และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีก่อนการผ่าตัด หรือผู้ที่มีภาวะของโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะให้ผลในการรักษาที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามการผ่าตัดกระเพาะจะไม่สามารถรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้
ผ่าตัดกระเพาะมีกี่แบบ? แบบไหนช่วยลดเบาหวานได้ดีที่สุด
การผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน เป็นวิธีที่แพทย์จะพิจารณาทำการรักษาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วน ซึ่งมีทั้งหมด 2 วิธี ดังนี้
- การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (Sleeve) : เป็นวิธีที่ทำให้ปริมาตรกระเพาะอาหารเล็กลง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น ช่วยลดความอยากอาหาร ผลลัพธ์เฉลี่ยน้ำหนักลดลงที่ 25-35% ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น
- การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Roux-en-Y Bypass) : วิธีผ่าตัดรักษาโรคอ้วนด้วยการเปลี่ยนทางเดินอาหารและลำไส้เล็ก ร่วมกับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ วิธีนี้จะช่วยลดการดูดซึมของอาหาร และรับประทานได้น้อยลง อิ่มเร็ว ช่วยปรับปรุงการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาสจึงเป็นวิธีที่ช่วยลดเบาหวานได้ดีกว่าวิธีแรก
อ่านบทความที่น่าสนใจ : เทคนิคการผ่าตัดกระเพาะบายพาส (Gastric Bypass Surgery) ทางเลือกสำหรับผู้ที่ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ

ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะในการควบคุมและรักษาเบาหวาน
การผ่าตัดกระเพาะสำหรับผู้ที่มีภาวะของโรคอ้วนและโรคเบาหวานในระยะแรก หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยมีโอกาสหยุดยาได้ตั้งแต่ 3 เดือนหลังผ่าตัดและมีโอกาสหายขาดได้ ซึ่งนอกจากรักษาเบาหวานได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคร่วมอื่น ๆ ได้ ดังนี้
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- โรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง
- โรคกรดไหลย้อน
- โรคไขมันพอกตับ
- ภาวะเครียดและโรคซึมเศร้า
- โรคข้อกระดูกเสื่อม
การผ่าตัดกระเพาะยังมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคอ้วนอีกด้วย

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงหลังผ่าตัดกระเพาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
แม้การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนจะเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง และให้ผลในการรักษาที่ดี แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ จากปัจจัยด้านอายุ และโรคประจำตัวบางอย่างของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ภาวะขาดวิตามินและเกลือแร่ เนื่องจากหลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะรับประทานอาหารได้น้อยลง และการดูดซึมลดลง ทำให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุลดลงไปด้วย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรือเสริมด้วยวิตามินทดแทน จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ลดภาวะแทรกซ้อนได้
สรุปผ่าตัดกระเพาะช่วยรักษาเบาหวานได้หรือไม่ เหมาะกับใครที่สุด
การผ่าตัดกระเพาะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ที่เป็นโรคอ้วนโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีเพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน หรือเริ่มเป็นในระยะแรก เพราะหลังจากผ่าตัดรักษาแล้ว มีโอกาสสูงมากที่จะหายขาดจากโรคได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษา ทั้งนี้สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ร่วมกับโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติมและวางแผนการรักษาโรคที่เหมาะสมต่อไป
สำหรับการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนที่ MSC Healthcare เรามีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง ยินดีให้คำปรึกษาและวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม พร้อมการรักษาด้วยวิธี ผ่าตัดส่องกล้อง ที่ให้แผลเล็ก ลดการบาดเจ็บ และฟื้นตัวได้เร็ว พร้อมกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างยั่งยืน
สอบถามข้อมูลและทำนัดหมาย
โทร. 065-509-4459
Line : @msc.healthcare
อ้างอิง :
Cleveland Clinic. (2024, February 27). Study shows bariatric surgery provides superior long-term treatment for type 2 diabetes in patients with obesity. Cleveland Clinic Newsroom.